ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร ในม็อบนกหวีด












สะใภ้ราชสกุล "กิติยากร" ม.ร.ว. วิจิตรโฉม กิติยากร

ภาพสามพี่น้องในราชกลุก "กิติยากร" คือ ม.ร.ว. เกียรติคุณ ม.ร.ว. สฤษดิและ ม.ร.ว. สุจิตคุณ สารสิน ที่เกาะเกี่ยวกันในความผูกพันที่มีต่อมารดาบังเกิดกล้า หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร บัดนี้ได้กลายเป็นภาพแห่งความทรงจำไปเสียแล้วภายหลังที่ ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 81 ปีในวันที่ 13 สิงหาคม 2534
ประวัติชีวิตของ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม เป็นธิดาคนที่สามของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร กับหม่อมเนื่อง ชยางกูร (ณ นคร) มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันห้าคน ได้แก่ ม.ร.ว. หญิงทิพยวดี ทวีวงศ์ ม.ร.ว. หญิงศรีสฤษดิ์ ธรรมสโรช ม.ร.ว. หญิงวิจิตรโฉม กิติยากร ม.ร.ว. หญิงโสมสมร กำภูและท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์
ม.ร.ว. วิจิตรโฉมเป็นนักเรียนปีนัง CONVENT OF THE HOLY JESUS สมัยเดียวกันกับ หม่อมกอบแก้วอาภากร ณ อยุธยาต่อมาได้สมรสกับหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร มีบุตรธิดาสามคนคือ
หนึ่ง-ม.ร.ว. เกียรติคุณ กิติยากร ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์พาณิชยกรรม นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา เคยสมรสกับอาภัสรา หงสกุล มีบุตรชายคนเดียวคือ ม.ล. รุ่งคุณ กิติยากร หรือ "พระโจ้" ซึ่งบวชเป็นพระแล้วสละทางโลก โดยไม่หวังจะสึก
สอง-ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย สมรสกับ ม.ร.ว. เดือนเด่น สวัสดิวัฒน์ มีบุตรสามคนคือ ม.ล. ชาครีย์ ม.ล. ทยาและ ม.ล. รมย์
สาม-ม.ร.ว. หญิงสุจิตคุณ สารสิน สมรสกับอาสา สารสินอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีบุตรธิดาสามคนคือ กิตติยา อมาตยกุล พาที สารสินและปิยมา สารสิน
เมื่อครั้งเยาว์วัย ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้มีโอกาสติดตามท่านพ่อหม่อมเจ้าสฤษดิเดชซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดต่าง ๆ และสมุหเทศาภิบาลในมณฑลต่าง ๆ ของภาคใต้ทำให้มีความรู้ด้านชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวบ้านในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ปัตตานีและจันทรบูร
"เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ลูก ๆ ทั้งสามตั้งแต่เยาว์วัยจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้รับฟังเกล็ดความทรงจำของคุณแม่สมัยท่านยังเล็กอยู่ ท่านได้เล่าเรื่องชีวิตความเป็นไปภายในวังของเจ้านายและใครต่อใครเป็นญาติ และเกี่ยวดองกันอย่างไร และที่ท่านได้ติดตามท่านตาไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ สมัยที่ท่านตายังเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดและเทศาฯ ลูกได้ฟังด้วยความระทึกใจ เมื่อคุณแม่ได้เล่าเรื่องตื่นเต้นต่าง ๆ ในสายตาของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เช่นเรื่องที่ชาวประมงได้ใช้เบ็ดตกจระเข้ที่ในแม่น้ำปัตตานี ความที่คิดอยู่เสมอว่า ความรู้จากคำบอกเล่าของคุณแม่เหล่านี้จะพึงมีและไม่สูญไปไหนเสีย ทำให้ลูก ๆ เสียใจที่ไม่มีโอกาสจะได้รื้อฟื้นความทรงจำนี้อีกเพราะไม่ได้บันทึกหรือซัก ถามท่านอย่างละเอียด" บันทึกตอนหนึ่งของลูก ๆ ที่เขียนไว้อาลัยในอนุสรณ์งานศพได้เล่าไว้
สามพี่น้องได้ใช้ชีวิตวัยเยาว์เติบโตในบรรยากาศแห่งความสุขที่บ้านเทเวศน์ เล่นขายของ วิ่งไล่จับหรือปีนป่ายต้นไม้ตามประสาเด็ก ๆ แต่เมื่อสงครามโลกมาเยือนความสงบสุขได้เปลี่ยนโฉมหน้าแห่งชีวิตประจำวันให้ กลับกลายเป็นภาวะแห่งความคับขัน อาหารการกินและความเป็นอยู่อัตคัดขาดแคลน แต่กุลสตรีผู้ขยันขันแข็งอย่าง ม.ร.ว. วิจิตรโฉมยังมุมานะทำขนมจนเป็นอาชีพ สิ่งที่ทำเป็นกอบเป็นกำคือหวานเย็น ขนมกะหรี่ปั๊บ ขนมไข่ไส้ครีม (เอแคล) และขนมเค้กต่าง ๆ
กรรมวิธีที่เธอคิดค้นทำขนมแปลก ๆ ใหม่ ๆ ก็โดยใช้เตาอบแผ่นสังกะสีเรียบเป็นตู้เล็ก ๆ มีถ่านที่คุแดงวางข้างบนและข้างล่าง ที่น่าสนใจมากที่สุดคือการทำขนมปังข้าวเจ้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาแทนขนมปังที่ทำจากแป้งสาลี ซึ่งในตอนนั้นขาดแคลนและไม่มีจำหน่าย ขนมปังข้างเจ้าก็ได้รับการพัฒนาจนสำเร็จและขึ้นฟูเช่นเดียวกับขนมปังแป้งสาลี แต่ไม่นาน หลังจากสงครามยุติลง ความนิยมขนมปังแป้งสาลีก็กลับคืนมาดังเดิม
ดังนั้นหลังสงครามโลกยุติลง ที่วังเทเวศร์ได้กลายเป็นแหล่งทำขนมปังแป้งสาลีแห่งแรกที่เริ่มทำจากการทำเตาอิฐขนาดใหญ่ และเป็นต้นแบบวิศวกรรมที่ใช้การก่ออิฐหลังคาโค้งที่น่าสนใจทีเดียว
"บ้านที่เคยสงบเงียบในตอนกลางวัน กลับเต็มไปด้วยความคึกคักตั้งแต่ตอนดึกของกลางคืนจนถึงเช้ามืด มีผู้คนมาติดต่อทำการค้าขายมากมาย แต่พอฟ้าสาง พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายก็กระจัดกระจายกันไป พร้อมทั้งขนมหวานและอาหารรับประทานซึ่งนำออกไปขาย ลูก ๆ จำได้ว่าคุณแม่ตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ห้าทุ่ม และทำงานเรื่อยไปจนประมาณตีห้า แต่ถึงกระนั้น ลูก ๆ ก็ยังได้พบคุรแม่โดยไม่ขาดโดยเกือบลืมนึกไปว่าคุณแม่ท่านมีเวลานานผิดกับคน อื่น ๆ แต่คุณแม่ก็ยังมีเวลาให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ สม่ำเสมอและแม้กระทั่งการไปหัวหินตอนหน้าร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านพ่อโปรดปรานที่สุด และไปครั้งหนึ่งเป็นเวลานาน คุณแม่ก็สามารถไปด้วยกับพวกเราโดยไม่ขาด" บันทึกแห่งอดีตได้กล่าวไว้
เมื่อลูก ๆ เติบใหญ่อยู่ในวัยเรียน แต่ละคนก็เริ่มจากบ้านไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษทีละคน บ่อยครั้ง ๆ ที่จะไม่มีลูกอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในประเทศไทย ยามคิดถึง ท่านพ่อกับคุณแม่ก็จะพากันไปเยี่ยมลูก ๆ ที่อังกฤษ ความรู้สึกใกล้ชิดอบอุ่นก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
"ท่านพ่อขับรถพาทั้งครอบครัวไปเที่ยวตามหัวเมืองต่าง ๆ ของอังกฤษ คุณแม่สนุกสนานมาก และประทับใจกับความงามและเงียบสงบของเมือง TORQUAY ทางใต้ของอังกฤษ และปรารภว่า อยากจะไปที่นั้นอีกถ้ามีโอกาสในภายหน้า หลังจากอยู่อังกฤษนานพอสมควรแล้ว ท่านพ่อได้พาเราข้ามไปเที่ยวยุโรป และขับรถไปหลายประเทศ ตามเมืองต่าง ๆ บางครั้งเนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาของการท่องเที่ยว เรามีความจำเป็นต้องไปจอดรถนอนริมชายหาด เพราะไม่มีโรงแรมไหนว่างอยู่เลย และในครั้งนั้นเราจะไปไหนก็ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้ากันไว้ ความรู้สึกของความใกล้ชิดในความเป็นครอบครัวในครั้งนั้นไม่มีวันจะเกิดขึ้น อีก" ความทรงจำอันพรั่งพรูบนหน้ากระดาษแห่งบันทึกเล่าไว้ให้ฟัง
แต่ความสุขมักจะจากไปเร็วกว่าที่คาดคิดไว้ ภายหลังจากที่หม่อมเจ้าขจรจบ กิตติคุณได้สิ้นชีพตักษัยในปี 2510 อนิจจา…ชีวิตของ ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้หายไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ผูกพันลึกซึ้งกับคู่ชีวิต ความเงียบเหงา กังวลใจ หงุดหงิด และเบื่อหน่ายชีวิตก็ได้เข้ามาเยือนชีวิต
"เมื่อสิ้นท่านพ่อ คุณแม่รู้สึกว่าเหงามาก เวลาลูก ๆ ไม่อยู่ โดยเฉพาะความที่มีชีวิตที่ไม่เคยอยู่เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำงาน ท่านเป็นคนไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ งานอดิเรกอื่นก็ไม่มีนอกจากปลูกต้นไม้ ทำสวน ซึ่งคุณแม่ทำได้ดีแต่ให้ความสนใจไม่ต่อเนื่องกัน" ลูก ๆ ได้บันทึกไว้
ความรู้สึดเศร้าเมื่อพลัดพรากจากที่รักได้นำมาสู่ความระทมทุกข์ในบั้นปลาย แต่อาศัยอยู่ได้ด้วยกำลังใจแห่งลูกหลานและญาติมิตร เมื่อครบรอบวันเกิด 80 ปี ลูกหลานได้จัดงานเลี้ยงฉลองขึ้นที่ดุสิตธานี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมโอรสาธิราชเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ร่วมงานด้วย
ผ่านพ้นงานวันเกิดอายุ 80 ได้เพียงปีเดียว ม.ร.ว. วิจิตรโฉมก็สิ้นบุญ เหลือไว้แต่รอยแห่งความทรงจำในดวงจิตของลูก ๆ ทั้งสาม
- See more at: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6361#sthash.DgbPbk9s.dpuf
ภาพสามพี่น้องในราชกลุก "กิติยากร" คือ ม.ร.ว. เกียรติคุณ ม.ร.ว. สฤษดิและ ม.ร.ว. สุจิตคุณ สารสิน ที่เกาะเกี่ยวกันในความผูกพันที่มีต่อมารดาบังเกิดกล้า หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร บัดนี้ได้กลายเป็นภาพแห่งความทรงจำไปเสียแล้วภายหลังที่ ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 81 ปีในวันที่ 13 สิงหาคม 2534
ประวัติชีวิตของ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม เป็นธิดาคนที่สามของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร กับหม่อมเนื่อง ชยางกูร (ณ นคร) มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันห้าคน ได้แก่ ม.ร.ว. หญิงทิพยวดี ทวีวงศ์ ม.ร.ว. หญิงศรีสฤษดิ์ ธรรมสโรช ม.ร.ว. หญิงวิจิตรโฉม กิติยากร ม.ร.ว. หญิงโสมสมร กำภูและท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์
ม.ร.ว. วิจิตรโฉมเป็นนักเรียนปีนัง CONVENT OF THE HOLY JESUS สมัยเดียวกันกับ หม่อมกอบแก้วอาภากร ณ อยุธยาต่อมาได้สมรสกับหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร มีบุตรธิดาสามคนคือ
หนึ่ง-ม.ร.ว. เกียรติคุณ กิติยากร ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์พาณิชยกรรม นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา เคยสมรสกับอาภัสรา หงสกุล มีบุตรชายคนเดียวคือ ม.ล. รุ่งคุณ กิติยากร หรือ "พระโจ้" ซึ่งบวชเป็นพระแล้วสละทางโลก โดยไม่หวังจะสึก
สอง-ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย สมรสกับ ม.ร.ว. เดือนเด่น สวัสดิวัฒน์ มีบุตรสามคนคือ ม.ล. ชาครีย์ ม.ล. ทยาและ ม.ล. รมย์
สาม-ม.ร.ว. หญิงสุจิตคุณ สารสิน สมรสกับอาสา สารสินอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีบุตรธิดาสามคนคือ กิตติยา อมาตยกุล พาที สารสินและปิยมา สารสิน
เมื่อครั้งเยาว์วัย ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้มีโอกาสติดตามท่านพ่อหม่อมเจ้าสฤษดิเดชซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดต่าง ๆ และสมุหเทศาภิบาลในมณฑลต่าง ๆ ของภาคใต้ทำให้มีความรู้ด้านชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวบ้านในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ปัตตานีและจันทรบูร
"เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ลูก ๆ ทั้งสามตั้งแต่เยาว์วัยจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้รับฟังเกล็ดความทรงจำของคุณแม่สมัยท่านยังเล็กอยู่ ท่านได้เล่าเรื่องชีวิตความเป็นไปภายในวังของเจ้านายและใครต่อใครเป็นญาติ และเกี่ยวดองกันอย่างไร และที่ท่านได้ติดตามท่านตาไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ สมัยที่ท่านตายังเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดและเทศาฯ ลูกได้ฟังด้วยความระทึกใจ เมื่อคุณแม่ได้เล่าเรื่องตื่นเต้นต่าง ๆ ในสายตาของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เช่นเรื่องที่ชาวประมงได้ใช้เบ็ดตกจระเข้ที่ในแม่น้ำปัตตานี ความที่คิดอยู่เสมอว่า ความรู้จากคำบอกเล่าของคุณแม่เหล่านี้จะพึงมีและไม่สูญไปไหนเสีย ทำให้ลูก ๆ เสียใจที่ไม่มีโอกาสจะได้รื้อฟื้นความทรงจำนี้อีกเพราะไม่ได้บันทึกหรือซัก ถามท่านอย่างละเอียด" บันทึกตอนหนึ่งของลูก ๆ ที่เขียนไว้อาลัยในอนุสรณ์งานศพได้เล่าไว้
สามพี่น้องได้ใช้ชีวิตวัยเยาว์เติบโตในบรรยากาศแห่งความสุขที่บ้านเทเวศน์ เล่นขายของ วิ่งไล่จับหรือปีนป่ายต้นไม้ตามประสาเด็ก ๆ แต่เมื่อสงครามโลกมาเยือนความสงบสุขได้เปลี่ยนโฉมหน้าแห่งชีวิตประจำวันให้ กลับกลายเป็นภาวะแห่งความคับขัน อาหารการกินและความเป็นอยู่อัตคัดขาดแคลน แต่กุลสตรีผู้ขยันขันแข็งอย่าง ม.ร.ว. วิจิตรโฉมยังมุมานะทำขนมจนเป็นอาชีพ สิ่งที่ทำเป็นกอบเป็นกำคือหวานเย็น ขนมกะหรี่ปั๊บ ขนมไข่ไส้ครีม (เอแคล) และขนมเค้กต่าง ๆ
กรรมวิธีที่เธอคิดค้นทำขนมแปลก ๆ ใหม่ ๆ ก็โดยใช้เตาอบแผ่นสังกะสีเรียบเป็นตู้เล็ก ๆ มีถ่านที่คุแดงวางข้างบนและข้างล่าง ที่น่าสนใจมากที่สุดคือการทำขนมปังข้าวเจ้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาแทนขนมปังที่ทำจากแป้งสาลี ซึ่งในตอนนั้นขาดแคลนและไม่มีจำหน่าย ขนมปังข้างเจ้าก็ได้รับการพัฒนาจนสำเร็จและขึ้นฟูเช่นเดียวกับขนมปังแป้งสาลี แต่ไม่นาน หลังจากสงครามยุติลง ความนิยมขนมปังแป้งสาลีก็กลับคืนมาดังเดิม
ดังนั้นหลังสงครามโลกยุติลง ที่วังเทเวศร์ได้กลายเป็นแหล่งทำขนมปังแป้งสาลีแห่งแรกที่เริ่มทำจากการทำเตาอิฐขนาดใหญ่ และเป็นต้นแบบวิศวกรรมที่ใช้การก่ออิฐหลังคาโค้งที่น่าสนใจทีเดียว
"บ้านที่เคยสงบเงียบในตอนกลางวัน กลับเต็มไปด้วยความคึกคักตั้งแต่ตอนดึกของกลางคืนจนถึงเช้ามืด มีผู้คนมาติดต่อทำการค้าขายมากมาย แต่พอฟ้าสาง พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายก็กระจัดกระจายกันไป พร้อมทั้งขนมหวานและอาหารรับประทานซึ่งนำออกไปขาย ลูก ๆ จำได้ว่าคุณแม่ตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ห้าทุ่ม และทำงานเรื่อยไปจนประมาณตีห้า แต่ถึงกระนั้น ลูก ๆ ก็ยังได้พบคุรแม่โดยไม่ขาดโดยเกือบลืมนึกไปว่าคุณแม่ท่านมีเวลานานผิดกับคน อื่น ๆ แต่คุณแม่ก็ยังมีเวลาให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ สม่ำเสมอและแม้กระทั่งการไปหัวหินตอนหน้าร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านพ่อโปรดปรานที่สุด และไปครั้งหนึ่งเป็นเวลานาน คุณแม่ก็สามารถไปด้วยกับพวกเราโดยไม่ขาด" บันทึกแห่งอดีตได้กล่าวไว้
เมื่อลูก ๆ เติบใหญ่อยู่ในวัยเรียน แต่ละคนก็เริ่มจากบ้านไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษทีละคน บ่อยครั้ง ๆ ที่จะไม่มีลูกอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในประเทศไทย ยามคิดถึง ท่านพ่อกับคุณแม่ก็จะพากันไปเยี่ยมลูก ๆ ที่อังกฤษ ความรู้สึกใกล้ชิดอบอุ่นก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
"ท่านพ่อขับรถพาทั้งครอบครัวไปเที่ยวตามหัวเมืองต่าง ๆ ของอังกฤษ คุณแม่สนุกสนานมาก และประทับใจกับความงามและเงียบสงบของเมือง TORQUAY ทางใต้ของอังกฤษ และปรารภว่า อยากจะไปที่นั้นอีกถ้ามีโอกาสในภายหน้า หลังจากอยู่อังกฤษนานพอสมควรแล้ว ท่านพ่อได้พาเราข้ามไปเที่ยวยุโรป และขับรถไปหลายประเทศ ตามเมืองต่าง ๆ บางครั้งเนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาของการท่องเที่ยว เรามีความจำเป็นต้องไปจอดรถนอนริมชายหาด เพราะไม่มีโรงแรมไหนว่างอยู่เลย และในครั้งนั้นเราจะไปไหนก็ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้ากันไว้ ความรู้สึกของความใกล้ชิดในความเป็นครอบครัวในครั้งนั้นไม่มีวันจะเกิดขึ้น อีก" ความทรงจำอันพรั่งพรูบนหน้ากระดาษแห่งบันทึกเล่าไว้ให้ฟัง
แต่ความสุขมักจะจากไปเร็วกว่าที่คาดคิดไว้ ภายหลังจากที่หม่อมเจ้าขจรจบ กิตติคุณได้สิ้นชีพตักษัยในปี 2510 อนิจจา…ชีวิตของ ม.ร.ว. วิจิตรโฉมได้หายไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ผูกพันลึกซึ้งกับคู่ชีวิต ความเงียบเหงา กังวลใจ หงุดหงิด และเบื่อหน่ายชีวิตก็ได้เข้ามาเยือนชีวิต
"เมื่อสิ้นท่านพ่อ คุณแม่รู้สึกว่าเหงามาก เวลาลูก ๆ ไม่อยู่ โดยเฉพาะความที่มีชีวิตที่ไม่เคยอยู่เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำงาน ท่านเป็นคนไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ งานอดิเรกอื่นก็ไม่มีนอกจากปลูกต้นไม้ ทำสวน ซึ่งคุณแม่ทำได้ดีแต่ให้ความสนใจไม่ต่อเนื่องกัน" ลูก ๆ ได้บันทึกไว้
ความรู้สึดเศร้าเมื่อพลัดพรากจากที่รักได้นำมาสู่ความระทมทุกข์ในบั้นปลาย แต่อาศัยอยู่ได้ด้วยกำลังใจแห่งลูกหลานและญาติมิตร เมื่อครบรอบวันเกิด 80 ปี ลูกหลานได้จัดงานเลี้ยงฉลองขึ้นที่ดุสิตธานี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมโอรสาธิราชเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ร่วมงานด้วย
ผ่านพ้นงานวันเกิดอายุ 80 ได้เพียงปีเดียว ม.ร.ว. วิจิตรโฉมก็สิ้นบุญ เหลือไว้แต่รอยแห่งความทรงจำในดวงจิตของลูก ๆ ทั้งสาม
- See more at: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6361#sthash.DgbPbk9s.dpuf
รวยที่สุดในโลก สุดท้ายก็เอาสมบัติไปด้วยไม่ได้


ส่องดีดีความสวยหลบใน

ส่องนานแล้วก็ยังไม่เจอ


เป็นถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เลือกข้างต่อต้านประชาธิปไตย

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์พระราชทานพวงหรีด ไว้อาลัยประคอง ชูจันทร์ ม็อบสุเทพที่ตายบนถนน บรรทัดทอง รักชาติแบบไหนใส่ใจโจร สู้ครั้งสุดท้ายของเธอ และเธอก็เเพ้และเเพ้ตลอดไป


 

วังเลือกข้างม็อบสุเทพ ปิดกรุงเทพ

ใครส่ง ร.ย.ล. 8819 ไปงานศพ ม็อบปิดกรุงเทพที่โดนระเบิดตาย


ฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มนักวิชาการ วุฒิสมาชิก ราชนิกูล แพทย์อาวุโส นักบริหาร นักวิชาการ ศิลปินแห่งชาติ นำโดย ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ได้ร่วมกันลงนามถวายฎีกา ขอพระราชทานรัฐบาลชั่วคราว และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าการเลือกตั้งจะแล้วเสร็จ โดยอ้างอิงความตาม มาตรา 7 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รายละเอียด ของฎีกา มีดังนี้

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ตามที่ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำการยุบสภา โดยมิได้มีเหตุอันควรที่ถือธรรมเนียมปฏิบัติ ตามครรลองของระบบรัฐสภา การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำลายระบบรัฐสภาแล้ว ยังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ประชาชนได้มาชุมนุมมากขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มบุคคลผู้หวังดีต่อประเทศชาติหลายกลุ่มเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แต่ก็ไม่เป็นผล นายกรัฐมนตรีกลับสั่งให้มีการระดมประชาชนเพื่อมาสนับสนุนตนเอง โดยไม่ใส่ใจต่อคำเรียกร้องของประชาชน
บัดนี้ พรรคฝ่ายค้านได้ตกลงร่วมกันไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะทำให้พรรคไทยรักไทยกลาย เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวในสภา การต่อต้านของประชาชนจะมีมากขึ้นทั้งก่อนระหว่างและหลังการเลือกตั้งนำไปสู่ สภาวการณ์ที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ
ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นทางออกใด นอกจากการขอพระราชทานพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ขอพระมหากรุณาเป็นที่พึ่ง ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย นำจารีตประเพณีการปกครอง ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีรัฐบาลชั่วคราว ทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ และดูแลเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นการเริ่มต้นกิจกรรมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยใหม่ โดยพรรคการเมืองทุกพรรคมีโอกาสในการแข่งขันอย่างเท่าเทียมและบริสุทธิ์ ยุติธรรม
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอเดชะ

รายนามผู้ขอพระมหากรุณาเป็นที่พึ่งพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย

รายนามผู้ขอพระมหากรุณาเป็นที่พึ่งพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย จารีตประเพณีการปกครอง ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  1. ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  3. นายวีระวัฒน์ ชลายน อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  4. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
  5. นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  6. ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ
  7. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกองทุนสื่อประชาสังคมด้านคอร์รัปชั่น
  9. นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  10. นายอัษฎา ชัยนาม อดีตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
  11. ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันสหสวรรษ
  12. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ นายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
  13. รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  14. นายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
  15. นายสุเทพ วงค์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ
  16. พลโท ทวีสิทธิ์ หนูนิมิตร อดีตที่ปรึกษากองทัพบก
  17. นายแพทย์ ปัญญา สอนคม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  18. นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  19. นายแพทย์สวัสดิ์ ศรีสกุลเมฆี อดีตนายแพทย์ใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราช
  20. นายแพทย์มรกต กรเกษม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  21. นายแพทย์อุลิต ลียะวณิช อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  22. แพทย์หญิงจุรี นิงสานนท์ อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษสาขากุมารเวช
  23. นางดวงใจ สอนคม หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลแม่และเด็กบางเขน กรมอนามัย
  24. นายแพทย์สุรเทพ บุณยะสุขานนท์ อดีตสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ
  25. นายแพทย์จำลอง แจ่มไพบูลย์ อดีตสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
  26. แพทย์หญิงองุ่น แจ่มไพบูลย์ อดีตแพทย์อาวุโส
  27. พันโท แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
  28. นายเชื้อพรหม มหาผล วิศวกร
  29. นางนิตยา จันทร์เรือง มหาผล อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมการแพทย์
  30. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภา
  31. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกวุฒิสภา
  32. นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สมาชิกวุฒิสภา
  33. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ สมาชิกวุฒิสภา
  34. แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชวรกิจ สมาชิกวุฒิสภา
  35. พลตรีมนูญกฤต รูปขจร สมาชิกวุฒิสภา
  36. พลตำรวจตรีเสกสรร อุ่นสำราญ สมาชิกวุฒิสภา
  37. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า สมาชิกวุฒิสภา
  38. นางเตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกวุฒิสภา
  39. นายพิเชษฐ์ พัฒนโชต์ สมาชิกวุฒิสภา
  40. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ สมาชิกวุฒิสภา
  41. นายการุณ ไสงาม สมาชิกวุฒิสภา
  42. นางวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง สมาชิกวุฒิสภา
  43. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี สมาชิกวุฒิสภา
  44. ร้อยตรีอนุกูล สุภาไชยกิจ สมาชิกวุฒิสภา
  45. นายวิญญู อุฬารกูล สมาชิวุฒิสภา
  46. ม.ร.ว.นฤมล เกษมสันต์
  47. ม.ร.ว.สุวนันท์ วัลยะเสวี
  48. ม.ร.ว.วุฒิศักดิ์ สวัสดิวัฒน์
  49. ม.ร.ว.สุตานนท์ สินธวานนท์
  50. ม.ร.ว.รำพิอาภา เกษมศรี
  51. ม.ร.ว.วิริยาภา กิตติยากร (ช่างเรียน)
  52. ม.ร.ว.สายสิงห์ ศิริบุตร
  53. ม.ร.ว.สายสวัสดิ์ ทอมป์สัน
  54. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  55. ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  56. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สุรฤทธิกุล ประธานกรรมการประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  57. รองศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  58. รองศาสตราจารย์ สมบัติ วอทอง คณบดีคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  59. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  60. อาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ กรรมการเครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
  61. รองศาสตราจารย์ ศรีราชา เจริญพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  62. อาจารย์คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  63. รองศาสตราจารย์ พิพัฒน์ ไทยอารี หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  64. รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยา บวรวัฒนา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  65. รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วัฒนสุนทร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  66. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  67. รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี หรดาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  68. รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  69. รองศาสตราจารย์ ดร.นิธิพัฒน์ เมฆขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  70. อาจารย์นราธิป ศรีราม อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  71. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชนินาฏ ลีดส์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  72. รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองเดช ศรีวรรธนะ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  73. รองศาสตราจารย์ วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ รองประธานกรรมการประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  74. รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ คณบดีวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  75. อาจารย์ ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  76. ท่านผู้หญิง ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
  77. นางปราศรัย รัชไชยบุญ
  78. นางเนาวรัตน์ กรรณสูต
  79. นายณรงค์ โชควัฒนา
  80. คุณหญิงวนิดา พูลศิริวงค์
  81. คุณหญิงวิจันทรา บุญนาค
  82. คุณทอศรี สวัสดิชูโต
  83. คุณหญิง โฉมศรี กำภู ณ อยุธยา
  84. นางพิยดา สุวรรณรัตน์
  85. รองศาสตราจารย์ ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ
  86. พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม
  87. นางศรีเทพ กุสุมา ณ อยุธยา
  88. นางชมภูนุช โทสินธิติ
  89. นางบุญวรรณ จันทรวิโรจน์
  90. นายอภิเนตร อูนากูล
  91. นางดวงแก้ว ไตรตระกูล
  92. นางดวงมณี สุขุม
  93. นางอรทัย จิตบุตร
  94. นางสุนทรา เอี่ยมสุรีย์
  95. นางกอบสุข เอี่ยมสุรีย์
  96. นางสาวตรัสวิน จิตติเดชารัตน์